วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กำจัดปลวกด้วยวิธีธรรมชาติ

 ทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากทำลายสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันนี้มีการนำสมุนไพรหลากหลายชนิดมาทำการวิจัย เพื่อที่จะเอามาใช้เป็นส่วนประกอบในการกำจัดปลวก เรามาลองดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

ขมิ้นชัน นับว่าเป็นสมุนไพรที่มีผลต่อการหยุดการทำงานของเอนไซม์ที่มีเชื้อรา
เมล็ดน้อยหน่า สามารถนำมาช่วยในการทำลายเนื้อเยื่อของสัตว์ได้
สะเดาอินเดีย มีสารที่ลดการพัฒนาของแมลงปีกอ่อนจึงส่งผลให้แมลงไม่กินพืชที่เราเพาะปลูกไว้
หางไหล มีสารที่มีผลต่อการหายใจ ในระดับของแมลงจำพวกปากดูดและเจาะดูด
สาบเสือ มีผลต่อการลดระดับเอนไซม์ในเลือด
ต้นพริก มีส่วนช่วยในการลดระดับการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ
หญ้าแห้วหมู มีสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในปลวก
เปลือกมังคุด ส่งผลโดยตรงต่อการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในปลวก



ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ได้ผ่านการค้นคว้ามาแล้วว่า ปลวกไม่ชอบกิน ซึ่งหากจะนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดปลวกนั้น ต้องนำมาผสมกับไม้ที่ปลวกชอบกิน โดยนำมาผสมให้เข้ากันในอัตราส่วนสมุนไพร 1 % และอีก 99 % เป็นไม้


การทำสมุนไพรกำจัดปลวกทำได้โดยการทำเป็นไม้เหยื่อล่อปลวกแบบอัดแท่ง ซึ่งเราจะทำการผสมพืชสมุนไพร บรรจุไว้ในท่อพลาสติกที่สามารถนำมาเสียบหรือนำมาฝังดินได้ โดยการฝังนั้น ให้เริ่มฝังไปรอบ ๆ บริเวณบ้านให้ห่างกันในระยะไม่เกิน 1.20 เมตร ปลวกจะกินเหยื่อและนำกลับไปที่รังของมัน โดยในครั้งแรกจะต้องเข้าทำการตรวจเช็คทุก 15 วัน หากจุดใดที่เหยื่อหมดไปให้เปลี่ยนเหยื่อใหม่แทน 

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการเตรียมหลุมเลี้ยงปลวก

ขุดหลุมดินขนาดใหญ่กว่ายางรถจักรยานยนต์ใกล้บ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่กว่ายาง
รถจักรยานยนต์ข้างละ 20 ซม. จะขุดกี่หลุมก็ได้

ใช้ยางนอกรถมอร์เตอร์ไซต์มากลับทางในออก จะทำให้ได้พื้นที่หนาขึ้น  แล้วนำลวดมาสานในวงในของยาง 8 -10 เส้น  สานรูปตาหมากรุก  เพื่อวางอาหารของปลวก  ทำลักษณะเดียวกันนี้  3 – 4 ชั้น (เส้น)  วางซ้อนกันในหลุมเลี้ยงปลวก

นำอาหารปลวก เช่น กระดาษ  เศษไม้ไผ่  หญ้าแห้ง  ใส่ลงใสยางรถแต่ละเส้นพอประมาณ  แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกชั้น  นำมาวางเรียงในหลุมรดน้ำซ้ำอีกให้ดินในหลุมชุ่ม

หาผ้าใบมาปกคลุมให้มืดสนิทและรักษาความชื้นรดน้ำซ้ำทุก ๆ 3-5 วัน  เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์  สามารถนำขึ้นมาเลี้ยงปลาโดยจุ่มยางรถทีละเส้นลงในบ่อเลี้ยงปลาให้ตัวปลวกลอยขึ้นมาให้ปลากิน  แช่ไว้  30 – 40 นาทีก็นำขึ้นมาใส่หลุมไว้เหมือนเดิมรดน้ำซ้ำอีกครั้ง


วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

บริหารความสมดุลของงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว

หรือ ที่ฝรั่งเรียกว่า Work / Life Balance ซึ่งในปัจจุบันเป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ต่างให้ความสำคัญและความสนใจกันมากพอสมควร แต่ก็เป็นเรื่องคาใจที่หลายๆ ท่านยังประสบปัญหาอยู่ โดยเฉพาะท่านที่กำลังอยู่ในช่วงระหว่างทางเลือกหรือระหว่างทางสองแพร่ง และหลายๆ ครั้งท่านก็มีความรู้สึกว่าถ้าจะประสบความสำเร็จในวิถีทางใดวิถีหนึ่งก็ต้องเสียสละในอีกทางหนึ่ง

ในวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมีนาคมนี้ มีบทความหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทั้งคู่ได้ทำการสัมภาษณ์และสำรวจผู้บริหารกว่า 4,000 คน เกี่ยวกับเรื่องราวการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว และกลั่นกรองออกมาเป็นบทเรียนที่น่าสนใจว่าจะการที่จะประสบความสำเร็จได้ทั้งงานและส่วนตัวนั้นจะมีแนวทางอย่างไร เราลองมาศึกษาและพิจารณากันดูนะครับ

หลักการแรกที่ผู้เขียนทั้งคู่เสนอแนะก็คือการกำหนดความสำเร็จของเราเองหรือ Defining Success for Yourself ครับ ซึ่งก็เป็นข้อคิดที่น่าสนใจ เพราะเป็นการเริ่มต้นที่หลักการพื้นฐานก่อนว่าเมื่อเราระบุว่าอยากจะประสบความสำเร็จทั้งในด้านงานและชีวิตส่วนตัวนั้น คำว่า “สำเร็จ” หมายถึงอะไร? และที่สำคัญคือความสำเร็จในความหมายของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในงานหรือความสำเร็จในชีวิตส่วนตัว ความสำเร็จในด้านงานของบางท่านอาจจะเป็นเรื่องของ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือ สามารถที่จะสร้างความแตกต่างให้กับผู้อื่นได้ หรือ ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ดีในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี หรือ ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น หรือ ได้มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา หรือ ประสบความสำเร็จด้านการเงิน หรือแม้กระทั่งการมีความสุขในการทำงาน

ในขณะที่ความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวนั้นก็มีความแตกต่างสำหรับแต่ละท่านเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลที่เรารักและคนรอบตัว หรือ การมีความสุข หรือ การดำรงชีวิตที่มีความหมาย หรือ การได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นต้น ประเด็นที่น่าสนใจคือการนิยามความสำเร็จของแต่ละคนนั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ดังนั้นก่อนที่จะมองหาความความสำเร็จทั้งในด้านงานและชีวิตส่วนตัวนั้น ควรจะเริ่มจากการนิยามความสำเร็จของตนเองให้ชัดเจนก่อน

หลักการที่สองคือการบริหารเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันที่เราอยู่ในโลกของเทคโนโลยี เราหลีกหนีเทคโนโลยีไม่ได้ เพียงแต่เราจะต้องตัดสินใจเองครับว่าจะยอมตกเป็นทาสของเทคโนโลยี หรือ เป็นเจ้านายของเทคโนโลยี ผู้บริหารต่างๆ ที่ทางผู้เขียนบทความทั้งสองได้สัมภาษณ์ต่างพูดถึงความสำคัญของการบริหารเทคโนโลยีทั้งสิ้น เช่น email, text message, โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ เราจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร ที่จะยอมให้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรา



เจ้าพ่อคอนโด บุกแนวราบ ลุยทาวน์เฮาส์-บ้านเดี่ยว



เมื่อ ช่วงเดือนกุมภา "แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์" บริษัทเจ้าของคอนโดมิเนียมระดับกลาง-ล่างในชื่อ "ลุมพินี" มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงระนาบกรรมการผู้จัดการบริษัทใน เครือ โยก "จรัญ เกษร" จากกรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ดูแลการบริหารโครงการ แอล.พี.เอ็น.ฯทุกที่ มาอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการคนใหม่ บริษัท พรสันติ จำกัด คุมพอร์ตโครงการแนวราบและอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ นอกเหนือจากคอนโดฯ ซึ่งว่ากันว่านี่คือการส่งสัญญาณรุกตลาดแนวราบของยักษฺ์ใหญ่ "แอล.พี.เอ็น.ฯ" หลังชิมลางครั้งแรกเมื่อปีི ล่าสุด "จรัญ" เปิดใจในฐานะเอ็มดีใหม่พรสันติเป็นครั้งแรก หลังรับตำแหน่งเป็นทางการได้ไม่กี่วัน


สำหรับ งานก่อสร้างแนวราบมีทีมรับเหมา 5 ทีม สร้างทาวน์เฮาส์เฉลี่ยต่อปี 200 หลัง ส่วนในแง่ธุรกิจยังเป็นช่วงเลิร์นนิ่งเคิร์ฟ (Learning Curve) หรือช่วงการเรียนรู้ในฐานะเอ็มดีสิ่งที่จะมาต่อยอดคือเรื่อง "บริหารชุมชน" มีประสบการณ์มา 8 ปี ในรายละเอียดคงแตกต่างกันบ้าง ขอเวลาเรียนรู้สักพัก อีกส่วนคือเรื่องก่อสร้าง เตรียมนำระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมาใช้แทนการก่ออิฐในอนาคต ลดการพึ่งพาแรงงาน เพราะปัญหาขาดแคลนแรงงานคงไม่กลับมาเป็นปกติอีกแล้ว จากที่ศึกษาการสร้างโรงงานชั่วคราวที่ไซต์ก่อสร้างใช้เงินลงทุน 10 ล้านบาท สร้างทาวน์เฮาส์ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ยูนิต บ้านเดี่ยวไม่ต่ำกว่าปีละ 500 ยูนิต


ในเนื้องานการก่อสร้างแต่เดิมเราอยากให้ปิยมิตรฯหรือทีมผู้รับเหมาคอนโดฯมาก่อสร้างโครงการแนว ราบ แต่ในทางปฏิบัติยุ่งยากเพราะกระบวนการแตกต่างกัน สำหรับคอนโดฯจะทำเป็นยูนิตซ้ำ ๆ กันจนกลายเป็นตึกสูง แต่แนวราบมีแค่ 2-3 ชั้นแล้วมุงหลังคาจากนั้นก็สร้างยูนิตใหม่ จึงต้องใช้เวลาเรียนรู้เพราะลักษณะงานแตกต่างกัน


ต้อง ถามว่าชื่อเสียงของเราสะท้อนถึงมุมมองอะไร ? สิ่งที่ลูกค้านึกถึงคือ "ชุมชนน่าอยู่" แต่ชุมชนน่าอยู่โครงการแนวราบกับคอนโดฯไม่เหมือนกัน เราพัฒนาทาวน์เฮาส์ในซอยลาดพร้าว 21 ทั้งโครงการกว่า 40 ยูนิต ความแตกต่างคือแนวราบ มีพื้นที่ทับซ้อนหรือพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันน้อยกว่าการใช้ชีวิตแบบมี ส่วนร่วมจึงน้อยกว่า แต่เชื่อว่าคนที่ซื้อบ้านจัดสรรต้องการคุณภาพชีวิตที่ดี คุณภาพสังคมสูง ๆ เราต้องทำให้เกิด Together and Share หรือการอยู่ร่วมกันและแบ่งปัน

แบรนด์ชนแบรนด์กับใคร

ใน ช่วงเรียนรู้คงไม่คิดไปแข่งกับใคร เพราะพรสันติยังเป็นน้องใหม่ ถ้าดูเป็นโปรเจ็กต์-รายทำเล เลี่ยงไม่ได้จะเจอคู่แข่ง ทำเลเสนานิคมเจอกับโครงการของเอพี ทำเลศรีนครินทร์ก็เจอกับโครงการของศุภาลัย แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แต่ตลาดทาวน์เฮาส์ฐานค่อนข้างใหญ่และเราพัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด "แอฟฟอร์เดเบิลเฮาส์" (Affordable House) หรือบ้านที่ราคาจับต้องได้เป็นหลัก นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่บอกกับลูกน้องเสมอ คือ อย่าพอใจกับสิ่งที่เราทำอยู่เด็ดขาด ! ต้องกระตุ้นให้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา